ผักที่มีจุดเด่นเรื่องกลิ่นหอมฉุนและรสชาติเผ็ดร้อน ยิ่งเมื่อถูกความร้อน ยิ่งมีกลิ่นชวนให้น่ารับประทานยิ่งขึ้นจึงไม่แปลกที่เมนูพื้นๆ อย่าง “ผัดกระเพรา” จะครองใจคนไทยมาช้านาน หากินได้ง่ายๆ ตั้งแต่ร้านอาหารตามสั่งข้างทางไปจนถึงร้านอาหารหรู ว่าแต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า มากกว่าความอร่อย กะเพรายังประโยชน์ต่อสุขภาพหลายๆ ด้านด้วย
บทความนี้ใช้เวลาอ่าน 30 วินาที
ประโยชน์ของใบกระเพรา?
การใช้ประโยชน์ที่นิยมที่สุดคือ “ใบ” เพราะมีสรรพคุณขับลม แก้จุกเสียด แน่นท้อง ช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นเหียนอาเจียน ในอินเดียจัดให้กะเพราเป็นยาอายุวัฒนะ และเป็นราชินีแห่งสมุนไพร สามารถนำมารักษาโรคได้มากมาย
- ช่วยขับไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย
มีฤทธิ์ในการลดระดับของไขมันในร่างกาย มีการทดลองใช้ใบกะเพราในกระต่ายทดลองโดยให้กระต่ายกินใบกะเพราเป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน ผลปรากฎว่า ระดับไขมันโดยรวมในกระต่ายลดลงโดยเฉพาะไขมันเลว ในขณะที่ไขมันดีกลับเพิ่มขึ้น
- ช่วยควบคุมโรคเบาหวาน
มีฤทธิ์ในการขับไขมันและน้ำตาลที่เป็นส่วนเกินออกจากร่างกายได้จึงช่วยลดระดับของน้ำตาลในเลือดได้ดี กะเพราจึงสามารถป้องกันโรคเบาหวานได้ ผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่ากะเพราทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยในขณะที่อดอาหารและหลังมื้ออาหารลดลงในระหว่างที่เข้ารับการทดลอง ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยในขณะที่อดอาหารลดลงไปร้อยละ 17.6% ในขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากผู้ป่วยทานอาหารลดลงร้อยละ 7.3%
- ป้องกันโรคมะเร็ง
สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งในช่องปากได้ โดยมีการนำเอาสารสกัดชนิดน้ำและชนิดผงจากใบกะเพราแบบเข้มข้นและแบบอ่อนมาทดลองกับเซลล์มะเร็งช่องปาก พบว่า สารสกัดทั้งสองนั้นมีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งในช่องปากได้อย่าง นอกจากนี้ยังพบว่า สารที่สกัดจากใบกะเพราด้วยเอทิลแอลกอฮล์ มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ และมะเร็งผิวหนังได้
- รักษาสุขภาพในช่องปาก
งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพในช่องปาก โดยแบ่งผู้ทดลองให้ใช้น้ำยาบ้วนปากจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผลการทดลองพบว่า ผู้ที่บ้วนปากด้วยกะเพรามีระดับคราบพลัคและอาการเหงือกอักเสบลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่ใช้คลอร์เฮกซิดีน ที่สำคัญยังไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ อีกด้วย
- ใช้ประกอบเมนูอาหารได้อย่างหลากหลาย
นอกจากจะมีสรรพคุณช่วยในการรักษาโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดีแล้ว เรายังสามารถนำใบกะเพราไปประกอบเป็นเมนูอาหารจานเด็ดและน่าสนใจได้อีกมากมาย เช่น แกงป่า แกงเลียง แกงคั่ว แกงเขียวหวาน แกงส้มมะเขือขื่น ผัดหมู ผัดกบ ผัดปลาไหล พล่าปลาดุก และพล่ากุ้ง เป็นต้น หรือหากจะเพิ่มสีสันและความอร่อยให้กับเมนูอื่นๆ ก็ทำได้ด้วยการนำใบกะเพรามาทอดแล้วใช้โรยหน้าอาหาร เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้จานอาหารดูมีสีสันหน้าทานและให้รสชาติที่อร่อย แถมยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ได้ในตัวอีกด้วย
- เพิ่มน้ำนมให้คุณแม่หลังคลอด
คุณแม่หลังคลอดสามารถเอาใบกะเพรามาใส่ผสมลงไปในเมนูอาหารต่างๆ ได้ตามต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งแกงเลียง จะช่วยให้มีน้ำนมมากพอที่จะให้ลูกน้อยดื่มกิน
- แก้พิษจากแมลงกัดต่อย
มีประโยชน์ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้เป็นอย่างดี โดยการตำใบกะเพราผสมเข้ากับเหล้าขาว แล้วนำมาทาบริเวณที่ถูกสัตว์มีพิษกัดต่อยก็ช่วยแก้พิษได้แล้ว ทั้งนี้ไม่ควรนำส่วนผสมที่ได้มารับประทานเด็ดขาด เนื่องจากจะมีสารยูจีนอลที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารได้
คุณค่าทางโภชนาการของกะเพรา
อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน รองลงมาได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซีน น้ำ วิตามินซี ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก
ข้อควรระวังของกะเพรา
- เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน หากรับประทานมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดอาการร้อนในได้
- เลือกใช้แบบปลอดสารพิษ หรือหากปลูกเองได้จะดีที่สุด
- หากใช้เพื่อการรักษาควรเลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกินไป
รู้อย่างนี้แล้ว ใครที่ชอบสั่งผัดกะเพราแล้วเขี่ยใบออกไปไว้ข้างๆ จาน ไม่ยอมรับประทานอาจต้องพิจารณากันใหม่ พยายามลองรับประทานบ่อยๆ แล้วคุณจะรู้ว่า กะเพรามีรสชาติอร่อย ไม่ขมอย่างที่เข้าใจ แถมยังได้สรรพคุณทางยาอีกด้วย
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ทำไมอาหารตามสั่งต้องมีเมนูผัดกะเพราเนื้อ กะเพราไก่ กะเพราหมู นั่นก็เพราะนอกจากประโยชน์สรรพคุณและความอร่อยของใบกะเพราแล้ว ใบกระเพรายังช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้อีกด้วย
สนใจสั่งซื้อ ผงใบกระเพรา สามารถคลิกได้ที่ [สั่งผงใบกระเพรา]
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบประโยชน์ต่างๆของวัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพ แต่ไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้