EP07 ผักโขม ราชาแห่งผัก Superfood ที่ควรรู้

EP07 ผักโขม ราชาแห่งผัก Superfood ที่ควรรู้

หากพูดถึงผักใบเขียวที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเมนูไหนก็ตาม ผักชนิดนี้ก็ทำให้รู้สึกชอบในการรับประทานผักได้ ซึ่งเชื่อว่าไม่มีใครปฏิเสธ “ผักขม” หรือที่คนไทยส่วนใหญ่เรียกผิดเป็น “ผักโขม” ไปได้เลย

บทความนี้ใช้เวลาอ่าน 30 วินาที

 

ประโยชน์ของผักโขม?

ผักโขมเป็นผักที่คนทั่วไปรู้จักกันดี เพราะมีประโยชน์มากมาย ในผักโขมมีแร่ธาตุและสารอาหารอยู่มากมายหลายชนิด เช่น วิตามินเอ กรดโฟเลต แบต้าแคโรทีน วิตามินซี โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี โปรตีน และไฟเบอร์

  • เป็นยาบำรุงกำลังเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง

ผักโขม สามารถนำมารับประทานเพื่อเป็นยาบำรุงกำลัง และช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ

  • ใช้ในการบำรุงน้ำนม

ใช้ในการช่วยบำรุงน้ำนม เหมาะสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนที่มีน้ำนมไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก เพราะผักโขม ช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่หลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงผักโขมมีวิตามินเอ วิตามินซี ที่จะช่วยให้น้ำนมของคุณแม่หลังคลอดสมบูรณ์ขึ้น

  • ช่วยในการลดน้ำหนัก

มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักและลดความอ้วนได้เป็นอย่างดี เพราะการรับประทานผักโขมจะช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องได้เร็วและนาน อีกทั้งยังช่วยชะลอการดูดซึมไขมันในร่างกาย

  • ป้องกันความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์

ผู้สูงอายุที่รับประทานผักขม(ผักโขม) จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผักขมมีฤทธิ์ช่วยชะลอการตายของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเมื่อรับประทานเป็นประจำ

  • มีโปรตีนสูง

สำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ การรับประทานผักโขม ถือเป็นผักที่แนะนำให้รับประทานกันอย่างมาก เนื่องจากมันอุดมไปด้วยโปรตีนสูง

  • ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ

มีส่วนช่วยในการบำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบหัวใจ และลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจได้

  • ป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด

ในผักโขม จะอุดมไปด้วยวิตามินเค ซึ่งสารชนิดนี้มีส่วนช่วยในการป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด ซึ่งในผู้ป่วยที่รับประทานกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น aspirin, warfarin ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก เนื่องจากฤทธิ์ของผักขมจะไปต้านฤทธิ์กับกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหนืดเกินไปได้

 

คุณค่าทางโภชนาการของผักโขม

ประกอบไปด้วย โพแทสเซียม, คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด, กากใยอาหาร, น้ำตาล, โปรตีน, วิตามินเอ, วิตามินซี, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, วิตามินบี 6, แมกนีเซียม, ไทอามิน, ไรโบพลาวิน, ไนอาซิน, วิตามินอี, วิตามินเค, ซิงค์, ฟอสฟอรัส

 

ข้อควรระวังของผักโขม

  • ในผักโขมจะมีกรดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า กรดออกเซลิคอยู่ค่อนข้างสูง ซึ่งสารชนิดนี้จะมีส่วนทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กในตัวมันได้ นอกจากว่าจะกินผักขมอย่างถูกวิธี
  • ไม่ควรรับประทานผักขมดิบ แต่ควรนำมาปรุงให้สุกก่อน ทั้งนี้เพื่อเป็นการทำลายกรดออกเซลิค
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคนิ่ว โรคเกาต์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และในกลุ่มผู้ที่สะสมปริมาณของแคลเซียม ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักขมในปริมาณมาก

รู้อย่างนี้แล้ว ใครที่ไม่ชอบผักโขม ไม่ยอมรับประทานอาจต้องพิจารณากันใหม่  พยายามลองรับประทานบ่อยๆ แล้วคุณจะรู้ว่า ผักโขมที่มีประโยชน์ต่างๆมากมาย ยังนิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ผัดผักโขม แกงจืดผักโขม ผักโขมอบชีส ขนมปังหน้าผักโขมอบชีส เป็นต้น

 

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

อันดับแรกที่ควรรู้คือห้ามรับประทานผักโขมที่ยังไม่ปรุงสุก หรือที่ยังดิบๆ อยู่ ผักแต่ละอย่างให้คุณประโยชน์ไม่เหมือนกัน บางชนิดรับประทานดิบๆ ได้ประโยชน์กว่า สารอาหารจะหายไปเมื่อปรุงสุก แต่บางผักบางชนิดควรปรุงให้สุกก่อนรับประทานจึงจะได้รับสารอาหารครบถ้วน ผักโขมก็เป็นผักที่อยู่ในประเภทผักที่ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน

 

สนใจสั่งซื้อ ผักโขมผง สามารถคลิกได้ที่ [สั่งผงใบกระเพรา]

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบประโยชน์ต่างๆของวัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพ แต่ไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้

 

Leave A Comment